Children here learn through

  • Direct experience Not Direct Instruction

  • Active Participatory Learning

  • Plan-Do-Review

  • Child-initiated

  • Adult-child Interaction

  • Learn English with Native speaker

Children here learn through

หลักสูตรไฮสโคป (HighScope) เน้นส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ผ่าน “การเล่น” และ “การลงมือปฏิบัติอย่างมีชีวิตชีวา” (Active Participatory Learning) เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากการเล่นและลงมือทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง แล้วต่อยอดการวิเคราะห์ พัฒนาทักษะต่างๆ รอบด้าน เด็กจะเกิดกระบวนการ “คิด” และ “ตัดสินใจ” ที่นำไปสู่การ “คิดริเริ่ม” (Child Initiative) ด้วยตนเอง ภายใต้การสนับสนุนเพื่อต่อยอดการเรียนรู้และปฏิสัมพันธ์อันดีระหว่างเด็กๆ กับคุณครู เด็กๆ จึงมีความสุขกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ สามารถพัฒนาทักษะต่างๆ ได้อย่างเต็มศักยภาพของตน และเติบโตเป็นคนที่มีคุณภาพ “Direct Experience NOT Direct Instruction”
งานวิจัยหลายชิ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ระบุว่าช่วงวัยแรกเกิด – 7 ปี หรือช่วงปฐมวัยเป็นช่วงชีวิตที่สำคัญที่สุด เป็นวัยทองของการตั้งต้นชีวิต การส่งเสริมและพัฒนาอย่างเหมาะสม สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี และการวางรากฐานที่มั่นคงย่อมส่งผลให้เด็กเติบโตเป็นคนดี มีความรู้ ความสามารถเป็นบุคคลที่มีคุณภาพ แต่งานวิจัยที่ชัดเจนที่สุดชิ้นหนึ่ง คือ งานวิจัยของนักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับรางวัลโนเบล ศาสตราจารย์ James J. Heckman จากมหาวิทยาลัยชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ค้นพบว่า เด็กที่ผ่านการเรียนรู้แบบไฮสโคปเมื่อโตขึ้นจบการศึกษาชั้นสูงกว่า มีรายได้สูงกว่า มีหน้าที่การงานที่ดีกว่าก่ออาชญากรรมและติดยาเสพติดน้อยกว่า เมื่อเทียบกับเด็กที่เรียนในรูปแบบปกติ และสามารถสรุปผลในเชิงเศรษฐศาสตร์ได้ว่า หลักสูตรไฮสโคปให้ผลประโยชน์ต่อผู้เรียนและต่อสังคม 7 – 12 เท่าของต้นทุน นั่นหมายถึง เมื่อลงทุน 1 บาท หลักสูตรไฮสโคปจะให้ผลตอบแทนสูงถึง 7 – 12 บาท ต่อผู้เรียนและสังคม ด้วยเหตุนี้ สาธิตปฐมวัยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยจึงเลือกใช้หลักสูตรไฮสโคปในการส่งเสริมและพัฒนาเด็กอนุบาล ตั้งแต่ชั้นเตรียมอนุบาลไปจนถึงอนุบาล 3
ทุกๆ วัน เด็กๆ ได้เรียนรู้ผ่านกระบวนการ PDR (Plan – Do – Review) วางแผนว่าวันนี้จะเล่นอะไร เล่นที่ไหน ใช้อะไรในการเล่นบ้าง แล้วเล่นตามที่วางแผนไว้ สุดท้ายจะกลับมาทบทวนให้เพื่อนกับคุณครูฟังว่า ไปเล่นอะไรมาบ้าง กระบวนการ PDR นี้ ส่งเสริมการคิดริเริ่ม การวางแผน ความกล้าตัดสินใจ และการไขปัญหาในการเล่นตามวัย การคิดและทักษะทางภาษา
 
ตัวบ่งชี้พัฒนาการสำคัญ (Key Developmental Indicators – KDIs)
ตัวบ่งชี้พัฒนาการสำคัญของไฮสโคป เป็นคำอธิบายเกี่ยวกับแนวคิดหลัก ทักษะ และองค์ความรู้เด็กจะได้รับและพัฒนา โดยครอบคลุมพัฒนาการเด็กทุกๆ ด้าน ซึ่งเน้นพฤติกรรมที่กระตือรือร้นของเด็ก และมีความสำคัญต่อการพัฒนาความสามารถพื้นฐานที่จะแสดงออกในช่วงปฐมวัย

Typical Day at Our Kindergarten

กิจวัตรประจำวัน คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สิ่งที่ทำทุกวันหรือประจำสม่ำเสมอ จนเกิดเป็นความเคยชิน พัฒนาไปเป็นนิสัย/พฤติกรรมถาวร ดังนั้น การมีตารางกิจวัตรประจำวันที่สม่ำเสมอ แน่นอน ช่วยให้เด็กรู้เวลา รู้ลำดับขั้นการทำกิจกรรม เกิดความเคยชินในกิจกรรมที่ทำ รู้ว่าต้องทำกิจกรรมใดต่อไป เด็กรู้หน้าที่ สิ่งที่ตนต้องปฏิบัติและลงมือปฏิบัติตามนั้นเป็นประจำ ซึ่งจะช่วยให้เด็กพัฒนาการรู้หน้าที่และความรับผิดชอบเป็นคุณลักษณะเฉพาะตัวต่อไป

ตัวอย่างตารางกิจวัตรประจำวัน