หลักสูตรไฮสโคป (HighScope) ทำไมต้องสาธิตปฐมวัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (UTCC Kindergarten)
“Direct Experience NOT Direct Instruction”
เราพัฒนาเด็กผ่านกระบวนการเรียนการสอนแบบไฮสโคป (HighScope) ไม่เน้นการท่องจำ แต่เน้นส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ผ่าน “การเล่น” และ “การลงมือปฏิบัติอย่างมีชีวิตชีวา” (Active Participatory Learning) เปิดโอกาสให้เด็กเล่นและลงมือทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง ให้ได้รับประสบการณ์ตรง เพื่อให้เด็กได้เกิดกระบวนการ “คิด” และ “ตัดสินใจ” ที่นำไปสู่การ “คิดริเริ่ม” (Child Initiative) ด้วยตนเอง ต่อยอดการวิเคราะห์ พัฒนาทักษะต่างๆ รอบด้าน ภายใต้การสนับสนุนของคุณครู และปฏิสัมพันธ์อันดีระหว่างเด็กๆ กับคุณครู หนึ่งในกิจกรรมหลักของไฮสโป คือ กระบวนการ PDR (Plan – Do – Review) เด็กๆ วางแผนว่าวันนี้จะเล่นอะไร เล่นที่ไหน ใช้อะไรในการเล่นบ้าง แล้วเล่นตามที่วางแผนไว้ สุดท้ายจะกลับมาทบทวนให้เพื่อนกับคุณครูฟังว่า ไปเล่นอะไรมาบ้าง กระบวนการนี้ส่งเสริมการคิดริเริ่ม การวางแผน ความกล้าตัดสินใจ และการไขปัญหาในการเล่นตามวัย เราไม่เน้นการสอนแบบท่องจำ แต่ส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวา มีความสุขกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพื่อให้เด็กสามารถพัฒนาทักษะต่างๆ ได้อย่างเต็มศักยภาพของตน และเติบโตเป็นคนที่มีคุณภาพ
ทำไมต้องไฮสโคป (HighScope)
งานวิจัยหลายชิ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ระบุว่าช่วงวัยแรกเกิด – 7 ปี หรือช่วงปฐมวัยเป็นช่วงชีวิตที่สำคัญที่สุด เป็นวัยทองของการตั้งต้นชีวิต การส่งเสริมและพัฒนาอย่างเหมาะสม สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี และการวางรากฐานที่มั่นคงย่อมส่งผลให้เด็กเติบโตเป็นคนดี มีความรู้ ความสามารถเป็นบุคคลที่มีคุณภาพ แต่งานวิจัยที่ชัดเจนที่สุดชิ้นหนึ่ง คือ งานวิจัยของนักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับรางวัลโนเบล ศาสตราจารย์ James J. Heckman จากมหาวิทยาลัยชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ค้นพบว่า เด็กที่ผ่านการเรียนรู้แบบไฮสโคปเมื่อโตขึ้นจบการศึกษาชั้นสูงกว่า มีรายได้สูงกว่า มีหน้าที่การงานที่ดีกว่าก่ออาชญากรรมและติดยาเสพติดน้อยกว่า เมื่อเทียบกับเด็กที่เรียนในรูปแบบปกติ และสามารถสรุปผลในเชิงเศรษฐศาสตร์ได้ว่า หลักสูตรไฮสโคปให้ผลประโยชน์ต่อผู้เรียนและต่อสังคม 7 – 12 เท่าของต้นทุน นั่นหมายถึง เมื่อลงทุน 1 บาท หลักสูตรไฮสโคปจะให้ผลตอบแทนสูงถึง 7 – 12 บาท ต่อผู้เรียนและสังคม ด้วยเหตุนี้ สาธิตปฐมวัยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยจึงเลือกใช้หลักสูตรไฮสโคปในการส่งเสริมและพัฒนาเด็กอนุบาล ตั้งแต่ชั้นเตรียมอนุบาลไปจนถึงอนุบาล 3
PDR (Plan – Do – Review)
ในทุกๆ วันเด็กๆ จะได้เรียนรู้ผ่านกระบวนการที่ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก
PDR (Plan – Do – Review) ซึ่ง 3 ขั้นตอนนี้จะส่งผลทำให้เด็กสามารถ
ทักษะด้านวิชาการ
เด็กๆ จะได้พัฒนาทักษะภาษาในกิจกรรมกลุ่มใหญ่ ผ่านกระบวนการ Whole Language และทักษะวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ในกิจกรรมกลุ่มย่อย ผ่านกระบวนการ STEAM โดยในแต่ละครั้งจะมีเด็กเข้าร่วมกิจกรรม 4 – 5 คน ซึ่งจะช่วยให้เด็กแต่ละคนมีส่วนร่วมในกิจกรรมอย่างเต็มที่ นำไปสู่การพัฒนาทักษะทางวิชาการอย่างมีประสิทธิภาพ
ห้องเรียนภาษาอังกฤษ
เด็กจะได้เรียนรู้ตามกระบวนการไฮสโคปโดยใช้ภาษาอังกฤษจากครูเจ้าของภาษา สัปดาห์ละ 1 วัน ในห้องเรียนไฮสโคปที่เหมาะต่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
“เรียนแบบนานาชาติ ด้วยราคาแบบไทยๆ”
กิจวัตรประจำวัน คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สิ่งที่ทำทุกวันหรือประจำสม่ำเสมอ จนเกิดเป็นความเคยชิน พัฒนาไปเป็นนิสัย/พฤติกรรมถาวร ดังนั้น การมีตารางกิจวัตรประจำวันที่สม่ำเสมอ แน่นอน ช่วยให้เด็กรู้เวลา รู้ลำดับขั้นการทำกิจกรรม เกิดความเคยชินในกิจกรรมที่ทำ รู้ว่าต้องทำกิจกรรมใดต่อไป เด็กรู้หน้าที่ สิ่งที่ตนต้องปฏิบัติและลงมือปฏิบัติตามนั้นเป็นประจำ ซึ่งจะช่วยให้เด็กพัฒนาการรู้หน้าที่และความรับผิดชอบเป็นคุณลักษณะเฉพาะตัวต่อไป
ตัวอย่างตารางกิจวัตรประจำวัน ปีการศึกษา 2564
กิจกรรมเช้าวันใหม่ สดใส แข็งแรง
เด็กๆ ออกกาลังกาย เคลื่อนไหวร่างกาย พัฒนาทักษะการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ในรูปแบบและทิศทางต่างๆ
กิจกรรมพานิทานกลับบ้าน
เด็กๆ เลือกนิทานที่สนใจ วันละ 1 เล่ม เพื่อนำกลับไปให้ผู้ปกครองอ่านให้ฟังที่บ้าน ใช้เวลาทากิจกรรมดีๆและสร้างปฏิสัมพันธ์อันอบอุ่น ส่งเสริมพัฒนาการด้านการสื่อสาร การใช้ภาษา และการรู้หนังสือ
กิจกรรมกลุ่มใหญ่
เด็กพัฒนาทักษะการมีส่วนร่วมในสังคมแลกเปลี่ยนความคิดทำกิจกรรมตามหน่วยการเรียนรู้
กิจกรรมเล่นสนุกนอกห้องเรียน
เด็กพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก และ กลไกการควบคุมร่างกาย ด้วยการเล่นเครื่องเล่นสนาม เล่นกีฬาเล่นเกมการละเล่นที่มีกติกาง่ายๆ
กิจกรรมเล่นมุม (Plan – Do – Review)
เด็กพัฒนาทักษะการคิดที่เป็นระบบ โดยเลือกวางแผน และเข้าไปเล่น ลงมือทำกิจรรมในมุมฯ ตามความสนใจ แล้วเล่าทบทวนสิ่งที่ได้ปฏิบัติ
กิจกรรมสดชื่นหลังตื่นนอน
เด็กสนทนาทบทวนการเรียนรู้ในแต่ละวัน ร้องเพลง ฟังนิทาน เล่นเกมการศึกษา เกมการละเล่นต่างๆ ก่อนกลับบ้าน